รำลึก…ระโนด

รำลึก…ระโนด







ช่วง พ.ศ. 2537-2539 เกิดวิกฤตด้านมลพิษที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในประเทศ ไต้หวัน ในขณะที่กุ้งกุลาดำยังเป็นความต้องการของตลาดโลก ทำให้มีการเคลื่อนย้ายแหล่งผลิตเข้าสู่ประเทศไทยของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งของ ไต้หวันและทุนทางการเกษตรของไทยอย่างซีพี ซึ่งเป็นทุนข้ามชาติที่กุมกลไกการเกษตรอย่างครบวงจร ทั้งในแง่ของอาหาร พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ลูกพันธุ์ ทั้งสัตว์น้ำและสัตว์บก แน่นอนกุ้งกุลาดำก็ตกอยู่ในอุ้งมือของยักษ์ใหญ่อย่างซีพีด้วยเช่นกัน การย้ายฐานการผลิตกุ้งกุลาดำจากไต้หวันสู่ประเทศไทย แน่นอนว่า ระโนดคือเป้าหมายสำคัญเพราะเป็นพื้นนาดินเหนียว ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทยที่ความเค็มของน้ำทะเลมีความเหมาะสมและมีพื้นที่ติด ชายฝั่งระยะทางยาวเป็นร้อยกิโลเมตร
มีคำพูดที่พูดกันในยุค นั้นว่า “การจะร่ำรวยในสังคมยุคนี้มีอยู่ 2 ทาง คือค้ายาเสพติดหรือไม่ก็เลี้ยงกุ้งกุลาดำ” การกว้านซื้อที่นาแห่งทุ่งระโนดเป็นไปอย่างกว้างขวางเพื่อใช้ในการทำนากุ้ง ที่นาทั้งแปลงเล็กแปลงใหญ่ ต่างถูกเปลี่ยนมือจากชาวนาแห่งทุ่งระโนดไปอยู่ในมือของบุคคล กลุ่มบุคคลและบริษัทต่างๆ โรงเรือนเพาะฟักลูกกุ้ง โรงงานผลิตอาหารกุ้ง ร้านขายอาหารและอุปกรณ์ในการเลี้ยงกุ้งขยายตัวเข้ามาเบียดขับท้องทุ่งที่เคย เขียวขจีหายไปในพริบตา เกษตรกรที่เคยทำนาที่พอมีกำลัง ก็ปรับเปลี่ยนที่นาของตัวเองเป็นนากุ้ง เงินสะพัดท่วมอำเภอเล็กๆ อย่างระโนด สทิงพระ สิงหนครของจังหวัดสงขลาและหัวไทรของจังหวัดนครศรีธรรมราช
สอง ข้างถนนยามค่ำคืนแสงสว่างจากบ่อเลี้ยงกุ้งสว่างไสวตลอดสองข้างทางจากอำเภอ สิงหนครในจังหวัดสงขลาถึงหัวไทรจังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่มีกลางคืนสำหรับพื้นที่นี้อีกต่อไป ร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ เกิดขึ้นอย่างกะดอกเห็ด มีเรื่องราวของปัญหาทางสังคมตามมาที่ถูกพูดถึงตลอดเวลา ไม่ว่าปัญหายาเสพติด แรงงานต่างด้าว อาชญากรรม “บางคนนุ่งผ้าขาวม้าไปเที่ยวซ่อง….เพราะมันอยู่ใกล้ๆ บ้านนั่นเอง”
การ เกิดไฟไหม้บ้านพักตรงสี่แยกรับแพรก และมีผู้หญิงที่ถูกกักขังไว้เสียชีวิต 3 คน สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงว่า สังคมที่เคยสงบสุขอย่างระโนดได้กลายเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยความสับสนยุ่ง เหยิง ด้วยอบายมุขทุกรูปแบบที่ตามมาจากอุตสาหกรรมกุ้งกุลาดำที่ได้ถาโถมเข้าสู่ ทุ่งระโนด แน่นอนว่าในอีกด้านการเข้ามาของนากุ้งได้ส่งผลให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับพื้นที่และในระดับประเทศจำนวนมหาศาล แต่ภาวะของความตื่นตาตื่นใจด้วยกระแสความร่ำรวยก็ดำรงอยู่ได้ไม่นาน ข่าวสารความระส่ำระสายของตลาดกุ้งกุลาดำที่ถูกตลาดใหญ่อย่างอเมริกาบอยคอต กุ้งจากประเทศไทยจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการย้ายฐานการผลิตของบริษัท ยักษ์ใหญ่ที่กุมการตลาดไปสู่ประเทศอื่นอย่างอินเดีย ศรีลังกา และบังกลาเทศทำให้เกิดภาวะการขาดทุน ทั้งเกษตรกรรายย่อยรายใหญ่อย่างทั่วหน้า
เรื่องสั้นที่ใช้ชื่อว่า “นากุ้งเอาพ่อนู๋ไป”                                                                                 ( http://www.oknation.net/blog/rinrudee/2010/10/12/entry-1) ทำให้ได้เข้าใจและเห็นภาพของเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น ณ ท้องทุ่งระโนดและวิถีชุมชนรอบทะเลสาบสงขลาหลังจากที่อุตสาหกรรมการเลี้ยง กุ้งกุลาดำได้ถาโถมเข้าสู่พื้นที่เมื่อประมาณ พ.ศ. 2531-32 เป็นเรื่องราวจริงที่เด็กสาวแห่งท้องทุ่งระโนดซึ่งได้ออกมาใช้ชีวิตในเมือง หลวง และตามข่าวคราวการเข้ามาของนากุ้งที่สัมพันธ์กับครอบครัว ตั้งแต่เกิดความขัดแย้งทางความคิดกันในครอบครัวและสุดท้ายต้องสูญเสียพ่อของ เขาไป ได้สะท้อนภาพของการเฟื่องฟูและล่มสลายของครอบครัวหนึ่งอันเกิดจากหัวหน้า ครอบครัวได้กระโจนเข้าสู่อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งได้อย่างเจ็บปวดที่สุด
ใน ขณะเดียวกันตลอดเวลาของการดำเนินไปอย่างเมามัน อย่างหลับหูหลับตาของการเลี้ยงกุ้ง ที่ต่างไม่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ทั้งในทะเล ห้วยหนอง ลำคลองและบนบก ความขัดแย้งในพื้นที่ระหว่างผู้เลี้ยงด้วยกันและที่ขยายความขัดแย้งกว้าง ขวางจนพูดกันทั่วไปของสื่อท้องถิ่นว่า “สงครามระหว่างนากุ้งกับนาข้าว” เพราะเป็นปัญหาที่กระทบรุนแรงจากน้ำเค็มไหลลงสู่กลุ่มเกษตรกรที่ยังต้องการ ทำนากับการขยายตัวของนากุ้งที่ไม่เป็นระบบและขาดการจัดการที่ดี นำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากระดับหมู่บ้านขยายไปสู่ระดับตำบลระดับอำเภอ นำไปสู่การเดินขบวน การประท้วง การปิดถนนหลายครั้งหลายครา ในระหว่างพ.ศ. 2531-2532 ความขัดแย้งหรือ “สงครามระหว่างนากุ้งนาข้าว” แห่งทุ่งระโนดหาได้จบลงด้วยฝีมือการแก้ไขปัญหาของฝ่ายรัฐแต่อย่างใด แต่ปัญหาต่างๆ เริ่มทุเลาเบาบางลงเรื่อยๆ เพราะเกิดจากภาวะขาดทุน ล้มละลายของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้งรายเล็กรายย่อยรวมไปถึงบริษัทใหญ่ๆ อันเกิดจากกลไกทางการตลาดและปัญหาด้านสภาวะสิ่งแวดล้อมที่สกปรกและเต็มไป ด้วยเชื้อโรคที่ไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งอีกต่อไป การทยอยล้มหายตายจาก เกิดการอพยพออกไปจากทุ่งระโนดทีละรายสองราย ทุ่งระโนดจึงกลับมาสงบอีกครั้ง แสงไฟที่สว่างไสวถูกปิดลง ความเงียบสงบกลับมาสู่ทุ่งระโนดอีกครั้งแม้จะหม่นหมองบ้างเพราะไม่ว่าจะมอง ไปทิศทางไหนมีแต่นากุ้งร้างและตาลโตนดยืนตายเรียงราย
มีความ พยายามมีข้อเสนอมากมายทั้งจากนักวิชาการ หน่วยงานราชการจำนวนมาก ที่จะแก้ไขและพัฒนานากุ้งร้างแห่งทุ่งระโนด ทั้งการนำระบบการเกษตรผสมผสานเข้ามาจัดการกับพื้นที่การเสนอให้มีการปลูกไผ่ 10,000 ไร่โดยคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตรจังหวัดสงขลาเพราะมองว่า พื้นที่ไม่เหมาะกับพืชชนิดอื่น แต่ทุกข้อเสนอไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ
การ เข้ามาของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยพร้อมงบประมาณที่สนับสนุนให้ ทุ่ง        ระโนดเป็นที่ตั้งของโครงการเหล็กต้นน้ำ โดยให้บริษัท COT ทำการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ให้บริษัท Golden Plus ทำการศึกษาเรื่องก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ให้บริษัท Image Plus ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนในพื้นที่เห็นด้วยกับโครงการฯ
ทุ่ง ระโนดกำลังถูกนำเสนอทางเลือกที่คนในพื้นที่ไม่มีโอกาสได้เลือกอีกวาระ ด้วยงบประมาณจำนวนมหาศาล ด้วยอำนาจรัฐที่หนุนหลังทุนข้ามชาติอย่าง นิปปอนสตีล เจเอฟอี สตีล บาว สตีล ฯลฯ ยักษ์ใหญ่ของอุตสาหกรรมเหล็กแห่งญี่ปุ่น ระโนดกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตอีกครั้งหรือไม่คงมีคำตอบในไม่ช้า.
ที่มา : Manager Online
Share this article :
 
Support : Creating Website Nakon
Copyright © 2013. คนบ้านเราเพ. - All Rights Reserved
Created by Suwachai